คำศัพท์ที่ ๒,๗๓๓ บาลีวันละคำ คำศัพท์ว่า
ประมุข
เขียนแบบ RTGS เป็น pramuk
ไม่ใช่เป็นแค่คนอยู่หัวแถว
อ่านว่า ปฺระ-มุก
บาลีเป็น “ปมุข” (ปะ-มุ-ขะ) รากศัพท์มาจาก ป + มุข
(๑) “ป”
อ่านว่า ปะ (ไม่ใช่ ปอ) เป็นคำอุปสรรค มีความหมายว่า ทั่วไป, ข้างหน้า, ก่อน, ออก
(๒) “มุข”
บาลีอ่านว่า มุ-ขะ รากศัพท์มาจาก -
(1) มุขฺ (ธาตุ = เปิด, ไป, เป็นไป) + อ ปัจจัย
: มุขฺ + อ = มุข แปลตามศัพท์ว่า (1) “อวัยวะอันเขาเปิดเผย” (2) “อวัยวะเป็นเครื่องเป็นไปแห่งประโยชน์สุข”
(2) มุ (ธาตุ = ผูก) + ข ปัจจัย
: มุ + ข = มุข แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะเป็นเครื่องผูก”
“มุข” หมายถึงอวัยวะ 2 อย่าง คือ ปาก (the mouth) และ หน้า (the face) จะหมายถึงอะไรต้องสังเกตที่บริบท
ในที่นี้ “มุข” หมายถึง หน้า (the face)
ป + มุข = ปมุข แปลตามศัพท์ว่า (1) “มุขประธาน” (2) “ผู้มีความเริ่มต้นที่ยิ่งใหญ่” (3) “ผู้เป็นหัวหน้าโดยความเป็นประธาน”
พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ปมุข” ตามตัวว่า “in front of the face” (ต่อหน้า) และบอกความหมายว่า fore-part, first, foremost, chief, prominent (ส่วนหน้า, แรก, ขึ้นหน้า, หัวหน้า, เด่น)
บาลี “ปมุข” สันสกฤตเป็น “ปฺรมุข”
สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ -
(สะกดตามต้นฉบับ)
“ปฺรมุข : (คำวิเศษณ์) ‘ประมุข,’ ประธาน, มุขย์, เปนใหญ่; ดียิ่ง, วิศิษฏ์ยิ่ง; เอก, ที่หนึ่ง; chief, principal; best, most excellent; first; - (คำนาม) หัวน่า; ผู้เปนใหญ่เปนประธาน; บัณฑิต, นรผู้ควรเคารพ; กอง, หมู่; เวลาปัตยุบัน; a chief; a sage, any respectable man; a heap, a multitude; the present time.”
ภาษาไทยใช้อิงสันสกฤตเป็น “ประมุข” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
“ประมุข : (คำนาม) ผู้เป็นใหญ่เป็นหัวหน้าของประเทศหรือศาสนาเป็นต้น. (ส. ปฺรมุข; ป. ปมุข).”
ขบคำออกมาเป็นธรรมะ
ถ้าเอาคำอุปสรรค “ป” = ทั่วไป, ข้างหน้า, ก่อน, ออก มาตีความควบกับ “มุข” = หน้า “ปมุข” ก็น่าจะมีความหมายในเชิงปฏิบัติว่า:
- “หน้าทั่วไป” คือไม่ว่าใครจะมีสุขมีทุกข์อยู่ที่ไหน ก็จะได้เห็นหน้าของท่านผู้นั้นอยู่ด้วยทั่วไปทุกแห่ง ไม่หายหน้าไปไหนเลย
- “หน้าข้างหน้า” คือไม่ว่าเกิดเรื่องร้ายดีอย่างไร ท่านผู้นั้นจะออกหน้าประชาชนเสมอ ไม่เคยหลบอยู่ข้างหลัง
- “หน้าก่อน” คือไม่ว่าเกิดเหตุอะไร ท่านผู้นั้นจะไปถึงก่อนใครทั้งหมด ไม่ใช่ว่า-เขาตีกันจนเลิกไปแล้ว เพิ่งจะโผล่มา
- “หน้าออก” คือเป็นหน้าของผู้ที่จะพาประเทศชาติบ้านเมืองหรือสังคมของตนออกไปจากอุปสรรคและปัญหาทั้งปวงได้ ไม่ใช่ปล่อยให้จมปลักหรือวนเวียนอยู่กับปัญหาแบบ-หาทางออกไมเจอ
..............
ดูก่อนภราดา!
: ลังเลไม่ควรเป็นผู้นำ
: พูดคำเถียงคำไม่ควรเป็นผู้ตาม
⌨️🖱️🧑💻…💻🪪✍️
ตอบลบ“แนวทางการเผยแผ่ หรือแนวทางการพิจารณา, อาตมาเห็นอย่างนี้ว่า คำว่า ‘บั่นทอน!’ ฉะนั้น น่าคิด!, คือ ย่อมต้องน่าคิด ว่า ยัง มีลิขิตใด? ที่ยิ่งกว่า พระตถาคตลิขิตอยู่ด้วยอีกหรือ?, คือเห็นว่า หรือนึกคิดได้ว่า อาตมาอยากถาม ใครๆ ทั่วไปหมดอย่างนี้เหมือนกัน, เพราะอยากที่จะทราบตื้นลึกหนักเบา เกี่ยวกับแนวทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ตามวิธี ต่างๆ ที่ผ่านมา, ในการนิยม ที่จะเสนอ โลก‘ทวิลักษณ์’ หรือในการ นิยม ที่จะเสนอ โลก‘ในแบบที่มีสิ่งที่เหนือกว่าพระพุทธเจ้า’, ซึ่งความที่อยากจะได้ พบกับการแถลง อย่างจริงใจ และจริงจัง ในรูปแบบ ที่แสดงว่า พระพุทธเจ้า เป็น พระภาค (แห่งสรรพสัตว์ สรรพสิ่ง และสรรพวิญญาณรู้) อันสูงสุด, แล้วนั้น โดยที่ไม่กล่าวไปที่นิพพาน หรือ พระเจ้าเสียก่อน (พรหมนอกศาสนา),
อันนี้ ความนี้ หรือเมื่อนี้ ย่อมประจักษ์ชัดอยู่ ว่าอาตมา มิได้กล่าวอย่างผู้ขี้เกียจขี้คร้านเลยแต่อย่างใด, แต่แค่คนึง หรือรำพึง แต่ภายในใจตัวเองเท่านั้น มาตลอด ว่าพบแต่ แนวทางการเผยแผ่ที่บิดเบือน แลเห็นว่า ริดรอน หรือลดอำนาจตามเป็นธรรมของพระพุทธเจ้ามากเกินไป, คือ ไม่ว่าจะแนวทางการเผยแผ่ แบบแสดง ด้วยนิยาม อะไรก็ตาม เป็นอันว่า หรือย่อมมักที่จะสื่อว่า กรรม! เป็นใหญ่บ้าง หรือบ้างก็ว่า จิต! เป็นใหญ่บ้าง หรือไม่ก็ว่า ธรรม! เป็นใหญ่บ้าง ไม่ว่า จะตามแนวทางแห่งอริยวงศ์ หรือพุทธวงศ์ อันมีบ้าง อยู่บ้างก็ตาม ซึ่ง บ้างก็ว่า ลงธรรมชาติ ชนิดที่ เป็นพีชะ! หรือไม่ก็อุตุ!, อันที่มิได้คำนึงถึง ไปได้ ว่า พระพุทธเจ้า เป็นผู้เปิดเผย‘ลักษณ์!’ ต่าง ๆ ดังกล่าวนั้น ๆ มาให้รู้, ซึ่งว่า หากมิใช่ ในสมัย แห่งพระพุทธาภิสมัยแล้ว ย่อมจะ มิมีใครจะไปรู้ได้
ดังกล่าวนั้น มัก แต่จะให้เห็นทาง ที่มิได้เห็นว่า เป็น พระตถาคตลิขิต เลยแต่อย่างใด, เพราะ เชื่อกรรม!บ้าง เชื่อธรรม!บ้าง เชื่อจิต!บ้าง, โดยมิได้คิด ดี-ร้าย ประการไรว่า, เราพึงเชื่อการตรัสรู้ และเชื่อธรรมจักร อันเป็นไปแล้ว อันดำเนินไปแล้ว เพราะพละ เพราะกำลังแห่งพระทศพล, แล้วนี้ อาตมา จึงมัก คำนึงถึงไปอย่างนี้, ว่าแนวทางการเผยแผ่ ใดๆ ก็ตาม ที่ลดทอน อำนาจ และความเป็นจริง แห่งพระตถาคตลิขิต ล้วน แต่เป็นแนวทางการเผยแผ่ที่ล้าสมัย และไม่ดี!เลย เสียมากจริงๆ หากว่า ได้มีการเผยแพร่ไปโดยขนานใหญ่, เพราะแท้จริงแล้ว เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้า กระทำ ให้ปรากฏ‘อนัตตาธรรม’, โลก! นี้ ก็ได้สืบต่อ และก็ได้แสดง อยู่ซึ่ง‘ไตรลักษณ์!’ อยู่โดยธรรมชาติ ตามความเป็นจริงที่เป็นไปแล้ว, จึงน่าที่จะมาเห็นว่า‘มีใครคนใดมาบั่นทอนศาสนธรรมได้ ผู้นั้นคงมีอำนาจในการลิขิตมากกว่าพระพุทธเจ้าแล้วกระมัง’, ซึ่งอย่างไร ๆ ก็พึงมิอาจจะเป็นความจริง
เพราะที่แท้ เรื่องระดับลึก เป็นอณู ปรมาณู ตามร้าย-ดี ไม่มีใครจะไปเปลี่ยนแปร โลกธาตุอันที่ละเอียด ที่กระทำให้เป็นไปแล้ว ให้ดำเนินไปแล้ว (ธรรมจักร) ย่อมที่จะไม่มีใครมากระทบกระเทือนหรือเปลี่ยนแปลงไปได้, ณ เมื่อเวลาที่คำนึงถึง ไปอย่างมีเหตุ-ผล ย่อมแต่จะคำนึงถึงไปอย่างนี้, เหมือนเมื่ออย่างนายพราน นั้น ยิงพาลมฤค คือเนื้อ นั้นเป็นต้น ด้วยเล็ง และตั้งใจยิงอย่างสุดฝีมือ‘แลอธิษฐานว่า หากเนื้อมฤคนั้นควรตาย จงตาย! แต่หากมิควรตายแล้ว อย่าตายเพราะศรนี้ เราจะเลิก แล้วจะไปล่าตัวอื่นแทน’, อันกล่าวนี้ ก็ว่าอย่างนักบวชเรานั่นเอง ว่า‘อะไรควรทำได้จงทำได้ อะไรมิควรจะทำได้ หากเราทำ แขนจงหลุด ขาจงขาด ร่างจงฉีกออก’ ขอแต่ให้ได้ กรรม! แลธรรม! ที่เป็นไปตามพระตถาคตลิขิตเท่านั้น จะยอมรับทั้งหมด, ไม่ว่า จะต้องสูญเสียจิต หรือสูญเสียกาย หรือได้สูญเสียไปเสียทั้งหมดทั้งสิ้น ก็ยินดีทั้งนั้น”
⌨️🖱️🧑💻…💻🪪✍️
ตอบลบ“ถ้าพูดกล่าว ในเรื่องของความเจริญและวัฒนาดี เกี่ยวกับการอบรม และการจะทำให้ได้ตามปฏิญาณ , จะอย่างไร? , เมื่อพิจารณาตาม บทกวี ที่เป็นภาษิตดังกล่าวนี้ อันเป็นภาษิตอย่างสากลของกวีระดับโลก อย่างยูนูส เอมเร, เพราะแต่ว่า ความยิ่งใหญ่ทางศาสนา ที่พวกเราตั้งจะสถาปนากาพย์กลอนอยู่ แม้นนั้น พระวังคีสะ พระอรหันต์ ผู้เลิศ ในเรื่องของกวี ท่านมิได้ แต่ง อาณัติหมาย ใด ๆ ไว้ให้ เพื่อที่จะเรียกสมมติ แก่พฤติกรรม ธุดงค์! ท่านพระวังคีสะเถระ มิมี และไม่ได้แต่งความหมายไว้เลย , แล้วเรื่อง พระกลดใหญ่ พระจีวรปะ พวกนั้น พวกนี้ สาธุชนเรา ย่อมไม่รู้ และไม่มีคำนิยามใด ๆ จะเรียกท่าน เหล่านั้น ได้ว่าอย่างไร? , ถ้าหากจะพูดกัน ให้เกี่ยวกับความวัฒนาดี นับตรงที่ เกี่ยวกับการอบรม และกระทำตามปฏิญาณ , แล้ว อาณัติสำคัญประดา นั้น ๆ จะพาพวกเรา แล่นลง หรือโน้มไปสู่ สัญญาญาณอะไร?เล่า เรื่องจึง จะได้ตรงความถูกต้อง ตามความสำคัญหมาย ลงนัยว่า! ธรรมหมวด ๑๓ หรือ ธรรมหมวดเกิน ๑๐
อาตมาว่า มันน่าจะจำแนกความ เป็นความ เป็นเรื่อง ๑๖ อย่างนะ ที่พึงควรนับว่าเป็นสากล , อันว่า เรื่อง ๑ ถึง ๑๕ และเรื่องของเสี้ยวที่ ๑๖ เพราะซึ่งไม่รู้ว่าอะไร ไม่รู้ว่าคืออะไร หรือที่ยังประมาณไม่ได้ จึงต้องนับว่ามี ๑๖ อย่าง โดยยังไม่รวมผู้สังเกต หรือ จุดสังเกต , นัย เพราะ เรื่อง เพ็ญ ๑๕ ค่ำ ย่อมเป็นเรื่องที่รู้กันดี ตรงถึงบท ที่นับว่า เป็นมหาบท แลเป็นอาณัติสัญญา หมาย ลงตรงที่ อาการ แห่งความประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ตามความอุบัติของพระพุทธเจ้าที่มีแล้ว ในกัป นั้น ๆ , ฉะนั้น การจำแนกธรรม ด้วยพิสดาร ที่พึงควรยกเข้ามาเป็น กระสวนความ อย่างเป็นสากล , ก็น่าจะเรื่อง เสี้ยวที่ ๑๖ นี้ ประเด็น ๑ ,
คือ อาจจะถามว่า เสี้ยวที่ ๑๖ นี้ เคร่ง! หรือไม่เคร่ง! , ถามอย่างนี้ก็ได้ , เพราะตรงเสี้ยวที่ ๑๖ นี้ ยังไม่มีใครรู้ ว่าเป็นอย่างไร? ว่าคืออย่างไร? , เลยอาจจะต้องถามว่า เสี้ยวที่ ๑๖ เคร่ง หรือไม่เคร่ง , เพราะแต่ความแน่นอนใจมีอยู่แล้วว่า ๑ - ๑๕ ฉะนั้น เคร่ง! เพราะเคร่งที่จะต่อประพฤติกัน หรือต่อพฤติการเช่นนั้น ๑๕ ไปที่ ๑ , ที่๑ ไปที่ ๒ , ที่ ๒ ไปที่ ๓, ที่ ๓ ไปที่ ๔ ที่ ๕ ฯลฯ ถึง ๑๕ อีกครั้ง , โดยที่ก็จำกัดจำเขี่ย จำเพาะไม่ได้อีกนั่นแหละ ว่า เสี้ยวที่ ๑๖ คือ อะไร? หรืออย่างไร? (ซึ่งตรงนี้นักคิดทางศาสนาพุทธ อาจจะนึกคิดถึงสถานที่ ที่พระพุทธเจ้าไม่อุบัติ) , หรืออย่างนั้น , กะเรื่อง ที่พระกลดใหญ่ และพระจีวรปะ ท่านเพ่งเล็ง ท่านมุ่งตรง ความคิดอ่าน แต่ธรรม จากธรรมของหมวด ๑๓ อยู่ , เช่นนี้ อาณัติหมาย ก็ย่อมชัดเข้ามาแล้ว ว่าความจำเพาะเจาะจง ตามอาณัติสัญญาญาณ ดังกล่าว ‘ย่อมจะอยู่ที่เรื่อง ของ ๑๒ ๑๓ ๑๔’ , ในเพราะ อดีต ก็มี ธรรม ๓ ในเพราะ ปัจจุบัน ก็มี ธรรม ๓ และในเพราะ อนาคต ก็มี ธรรม ๓ , ฉะนั้น
เช่นนั้น กระสวนความ ที่อาตมา จะตอบท่านทองย้อยเรื่องความเข้าใจผิด เช่นนั้น ก็คือ , ด้วยคำประณามบท ประณามคาถา ด้วยปรากฏการณ์ ด้วยนิยาม และความกระฉ่อน แห่งความของเรื่อง ของนิยามนั้นเอง , ย่อมแต่ สะท้อนกระสวนความของท่านทองย้อย ไปที่ ศัพท์คำว่า ‘อธุดงค์!’, เพราะตรงนั้น ไม่ได้พูดกัน ให้เกี่ยวกับความวัฒนาดี นับตรงที่ เกี่ยวกับการอบรม และการกระทำตามปฏิญาณ , แต่ว่า ก็ว่า อาจมิใช่ไม่พูดไม่กล่าวกันให้ถูกประเด็น , อาตมายกตัวอย่างว่า เช่นว่า นักบวช เรา อย่าว่าแต่กล่าวมุสาวาทเลย อันเรื่อง แม้นว่ากล่าวฉายาแห่งมุสาวาท หรือเรื่องล้อเล่น ก็ไม่กล่าวก็ไม่พูดกัน , ฉะนั้น ยกประณามความ ไปที่ปรากฏการณ์ทั้งปวง นี้ก็พึงด้วยเหมือนกัน , เพราะเรื่อง ที่ว่า วัตรพรต (ธุดงค์) ฉะนั้น เป็นเรื่องทุกข์ หรือฉายาแห่งความทุกข์ , คนปกติ ดี ๆ ธรรมดาที่มีชีวิตอยู่กับสุขภาวะ ปกติธรรมดา เขาย่อมไม่กล่าวทุกข์ หรือฉายาแห่งความทุกข์ อยู่โดยปกติ เหมือนคนที่ไม่กล่าวคำหยาบ หรือคำอัปมงคล นั่นเอง , ทีนี้ ท่านก็เลย เลี่ยงคำว่า ‘พระนั้นซาดิสม์’ , ‘พระนี้ซาดิสม์’ ก็จึงไม่ว่าอย่างนั้น , แล้วนั้น ก็เลยเลี่ยงไปใช้คำว่า ธุดงค์ หรือพระธุดงค์
ซึ่งเชื่อกันว่า เป็นคำที่ พระวังคีสเถระ ผู้เลิศด้วยกาพย์กลอนโคลงฉันท์วรรณคดี ท่านมิได้ให้นิยามใด ๆ ไว้ ว่า ธุดงค์จะแปลว่าอะไร? , ฉะนั้น การจะว่า ‘พระนั้นซาดิสม์!’ , ‘พระนี้ซาดิสม์!’ (หมายถึงทำเคร่ง และทรมานตน) ก็เลยยังว่าท่านไม่ได้ , เพราะว่า คำใด ศัพท์ใด ที่บูรพาจารย์ แลคณาจารย์สำคัญ ๆ ท่านมิได้จำเพาะและนิยามหรือให้ความหมายไว้แล้ว , ชาวพุทธเราย่อมเชื่อกันว่า เป็นเหมือนข้อที่ ๑๖ อันเป็นความหมายของเสี้ยวจันทร์ เสี้ยวที่ ๑๖ , ที่ซึ่งไม่รู้ว่าจะต้องกล่าวว่าอย่างไร?”